สับคัตเอาท์ ปิดเบรกเกอร์แอร์บ้าน ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงไหม
Written By: purich.v | 29/04/2024
หนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือนที่กินไฟมากสุดต้องยกให้กับ “แอร์บ้าน” ยิ่งเมืองไทยของเรามีสภาพอากาศร้อนอบอ้าว การทำให้ระดับความเย็นในห้องชุ่มฉ่ำสบายกาย สบายใจ ก็ยิ่งเพิ่มกำลังการทำงานของตัวเครื่องให้มากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินสิ่งที่พูดต่อ ๆ กันมาทำนอง ลองสับคัตเอาท์ หรือยกเบรกเกอร์แอร์ลงก็ช่วยประหยัดค่าไฟได้เหมือนกันนะ นี่คือเรื่องจริงหรือไม่? มาหาคำตอบกันได้เลย
คัตเอาท์ หรือเบรกเกอร์ไฟฟ้า คืออะไร?
ลำดับแรกต้องขออธิบายก่อนว่า เบรกเกอร์ไฟฟ้า หรือบางคนจะเรียกคัตเอาท์ก็ให้ความหมายในทำนองเดียวได้เช่นกัน คือ อุปกรณ์สำหรับตัดและปล่อยการทำงานของกระแสไฟฟ้าจากระบบไฟภายในบ้านไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท หากทำการยกเบรกเกอร์หรือสับคัตเอาท์ลงกระแสไฟดังกล่าวก็จะถูกตัดการทำงาน ไม่สามารถส่งไปถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ อุปกรณ์นั้น ๆ จึงไม่เกิดการทำงาน รวมถึงหากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร กระแสไฟเยอะเกินกว่าปกติ ตัวคัตเอาท์หรือเบรกเกอร์จะตัดการทำงานของไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
ปกติแล้วอุปกรณ์ตัวนี้มักถูกติดตั้งเอาไว้เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัวพร้อมกันในบ้านได้ เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องซักผ้า รวมถึงแอร์บ้าน แต่ในหลายบ้านก็มักทำเบรกเกอร์แยกสำหรับแอร์โดยเฉพาะเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไฟสูง โอกาสเกิดกระแสไฟเกินจนทำให้ไฟตัดทั้งบ้านเกิดขึ้นได้ หากแยกเอาไว้จะสะดวกต่อการใช้งานมากกว่า
แล้วการสับคัตเอาท์ ยกเบรกเกอร์แอร์บ้านลงช่วยประหยัดค่าไฟจริงไหม?
จากการอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของคัตเอาท์และเบรกเกอร์จะเห็นว่ากรณีที่ปิดการทำงานอุปกรณ์เหล่านี้กระแสไฟก็จะถูกตัดออก ตามหลักพื้นฐานก็สามารถช่วยประหยัดไฟได้ แต่ทางปฏิบัติจริงก็ไม่ได้ถึงกับช่วยเซฟค่าไฟอะไรมากมายนัก
อีกมุมหนึ่งหากเป็นแอร์บ้านรุ่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอร์ราคาถูกหรือแพงก็ตาม เมื่อปิดแอร์เรียบร้อยแต่ระบบระบายอากาศยังคงทำงานเพื่อไล่ความชื้นออกจากแผงคอยล์ ลดการเกิดกลิ่นอับและเชื้อรา หากคุณสับคัตเอาท์ หรือยกเบรกเกอร์ลง ระบบดังกล่าวก็จะถูกตัดตามไปด้วย โอกาสเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ก็มีได้เช่นกัน
จากเนื้อหาทั้งหมดที่อธิบายนี้สรุปได้ว่าจริงแล้วการสับคัตเอาท์ หรือการยกเบรกเกอร์ลงไม่ได้ทำให้เซฟค่าไฟได้มากอะไรนัก อีกมุมหนึ่งหากใช้แอร์รุ่นใหม่ ๆ ยังอาจทำให้เกิดความชื้น กลิ่นอับ เชื้อราอีกต่างหาก แต่ถ้าใครอยากสับคัตเอาท์ลงจริง ๆ เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ทำหลังปิดแอร์แล้วประมาณ 20-25 นาที จะดีที่สุด
สำหรับใครอยากเช็คราคาแอร์ ต้องการรู้ราคาแอร์รุ่นที่หาข้อมูลเอาไว้ DAS Inter Group พร้อมเป็นผู้ช่วยให้ทุกการซื้อแอร์ราคาถูกง่ายขึ้นกว่าเดิม สามารถติดต่อเข้ามาได้ทันทีครับ 02-050-8899 หรือ Line@: @dasintergroup เรื่องแอร์บ้านเราเชี่ยวชาญ