เบราเซอร์ของคุณเก่าเกินไปแล้ว คลิกที่นี่เพื่ออัพเกรด ก่อนเข้าชมเว็บไซต์

Screenshot

Your browser is outdated Click Here to Upgrade before using our website

ตรวจสอบแอร์

การตรวจสอบสภาพเครื่องปรับอากาศก่อนเรียกช่าง

Written By: purich.v | 27/01/2020

ถ้าวันนึงเครื่องปรับอากาศของคุณเกิดหยุดทำงาน  หากไม่รีบแก้ไขปัญหา  ท่าทางจะต้องทนร้อน  แต่ค่าซ่อมแซมหรือก็แสนจะแพง  วันนี้เราจึงนำวิธีตรวจสอบและแก้ไขสภาพเครื่องปรับอากาศด้วยตนเองเพื่อเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋า  เพราะในบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของคุณ

การแก้ปัญหาเบื้องต้น

  • 1. ประเมินปัญหา: ว่าแอร์หยุดทำงานทั้งระบบ แอร์ไม่เย็น  หรือแอร์ปล่อยออกมาแต่ลม
  • 2. เมื่อแอร์ไม่ทำงาน: ให้ดูว่าส่วนที่ไม่ทำงานเป็นส่วนคอนเดนเซอร์ (ภายนอก) หรือ แฟนคอยล์ (ภายใน) ที่ไม่ทำงาน  และตรวจสอบดังนี้
    • ตรวจดูเบรคเกอร์ และฟิวส์ ให้แน่ใจว่าเปิดระบบอยู่  บางครั้งวงจรที่ผ่านการใช้งานมามากอาจเกิดการเสื่อมสภาพ  ยิ่งหากคุณใช้วงจรร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น เช่น ตู้เย็น ไมโครเวฟ  อาจทำให้เกิดปัญหาได้
    • ตรวจสอบการตั้งค่าอุณหภูมิ ให้แน่ใจว่าอยู่ในอุณหภูิมิปกติที่คุณตั้งไว้  เพราะบา่งครั้ง เวลาปิดระบบอีกครั้ง ค่าที่ตั้งไว้อาจเปลี่ยนไป  ทำให้ดูเหมือนแอร์ไม่เย็น  หรือไม่ทำงาน
  • 3. ตรวจสอบยางรองคาดใบพัดว่ามีการหย่อน เสียหาย หรือขาดหรือไม่:  นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งทีี่ทำให้ลมออกมาน้อยและไม่เย็น เพราะมีการก่อตัวของน้ำแข็ง ทำให้แอรฺ์ทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพซึ่งสามารถแก้ไขด้วยการ
    • ซ่ิอม หรือเปลี่ยนยางคาดใบพัด  เพื่อให้การทำงานเป็นปกติ  น้ำแข็งที่ก่อตัวจะละลายเมื่อเริ่มการทำงานอีกครั้ง
  • 4. ตรวจสอบแผงคอยล์และแผ่นกรอง: ให้ทำความสะอาดทันทีเมื่อเห็นว่ามีการาสะสมของฝุ่นละอางพอสมควร  ถ้ามีน้ำแข็งเกาะที่แผงคอย  ให้ละลายออกใหม้หมดก่อนเปิดระบบอีกครั้ง
  • 5. โทรเรียกช่างหากดำเนินการเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น: หากการตรวจสอบพบว่า ระบบเปิดปกติ ทำความสะอาดเรียบร้อย แต่แอร์ยังไม่ทำงานคงถึงเวลาที่คุณต้องเรียกช่างผู้ชำนาญการมาแก้ปัญหาให้  เพราะบางครั้งปัญหาที่่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย

การบำรุงรักษาป้องกันก่อนเกิดปัญหา

  1. ล้างแผงคอนเดนเซอร์(ภายนอก) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง.
  2. ทำความสะอาดฟิลเตอร์ หรือเปลี่ยนเมื่อใช้งานมานาน.

โดยหากเกิดการก่อตัวของน้ำแข็งบ่อยๆ นั่นแสกงว่าแผ่นกรองของคุณอาจระบายอากาศได้ไม่ดี

ซึ่งบางครั้งอาจสังเกตได้ยากเพราะฝาครอบจะถูกปิดไว้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอาจสังเกตน้ำแข็งที่เกาะสายที่ต่อไปที่ยูนิตภายนอก  หรือดูการทำงานของคอนเดนเซอร์ว่าปกติหรือไม่

ในกรณีที่มีน้ำแข็งก่อตัวขึ้น  อาจเป็นไฟได้ที่แผ่นกรองนั้นมีฝุ่นอุดตันอยู่มาก  ทำให้ไม่สามารถส่งความร้อนไปสู่คอยล์  ทำให้ส่วนของคอยเย็นเกินไปจนเกิดน้ำแข็ง.

นอกจากนี้ความดันที่ต่ำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ ซึ่งทำให้กระบวนการทำงานเกี่ยวกับความดันมีประสิทธิภาพลดลง เมื่ออุณหภูมิลงไปถึงจุดเยือกแข็ง น้ำที่เกิดจากการควบแน่น จะกลายเป็นน้ำแข็ง   หรืออาจเกิดจากการที่ปล่อยลมไปสู่ cooling spaceน้อยจนเกินไป ทำให้ความเย็นลดลง  และอาจเป็นผลเสียกับคอมเพรสเซอร์ได้

คำเตือน

  • อย่างอซี่เหล็กที่อยู่ภายนอกของคอนเดอนเซอร์ ควรฉีดน้ำเบาๆขึ้นลง
  • อย่าพยายามไปแก้ไขระบบที่ซับซ้อน หากคุณไม่มีความชำนาญมากพอ  ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญการ
  • อย่าเพิ่งด่วนตัดสินอาการเมื่อเครื่องปรับอากาศไม่เย็น  ควรดูที่อุณหภูมิว่ามันเซ็ทตัวเองใหม่หรือหากอุณหภูมิไม่ผิดพลาด  หรือเซ็ทใหม่แต่แอร์ไม่เย็นเท่าที่ควร  ค่อยปรึกษาช่าง.
  • อย่าเอาน้ำยาแอร์ออกจากระบบนอกจากจะได้รับอนุญาติจาก EPA. เพราะเป็นสิ่งผิดกฏหมาย  มันเป็นสารอันตรายจะเป็นผลเสียต่อชั้นบรรยากาศของโลก
  • ใบรับประกันเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อเครื่องปรับอากาศมีปัญหา มันจะช่วยคุณได้

More Articles

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save