เบราเซอร์ของคุณเก่าเกินไปแล้ว คลิกที่นี่เพื่ออัพเกรด ก่อนเข้าชมเว็บไซต์

Screenshot

Your browser is outdated Click Here to Upgrade before using our website

น้ำยาแอร์

สารทำความเย็น น้ำยาแอร์บ้านแต่ละชนิดมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

Written By: purich.v | 20/05/2024

น้ำยาแอร์สำหรับใช้เติมแอร์บ้านและแอร์ทุกประเภท ถือเป็นอีกเรื่องที่คนใช้งานแอร์ต้องรู้เอาไว้ เพราะหน้าที่หลักของสารทำความเย็นชนิดเหลวตัวนี้จะช่วยดูดซับเอาความร้อนให้ขยายตัว รวมถึงยังเปลี่ยนสถานะของเหลวสู่แก๊ส และยังกลับเป็นของเหลวได้อีกครั้ง พูดง่าย ๆ คือ ช่วยให้แอร์เกิดความเย็นนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนอกจากการเช็คราคาแอร์ว่าจะซื้อเครื่องไหนแล้ว น้ำยาแอร์แต่ละประเภทก็มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน และแอร์แต่ละรุ่นก็ใช้ไม่เหมือนกันด้วย

น้ำยาแอร์ สารทำความเย็นแอร์บ้านแต่ละชนิดแตกต่างกันยังไง

1. น้ำยาแอร์ R22

ถือเป็นน้ำยาแอร์รุ่นเก่าสุด แต่ยังคงได้รับความนิยมสูง เหมาะกับการเติมให้กับแอร์บ้านทั่วไป ค่า ODP (ดัชนีทำลายโอโซน) = 0.05 ค่า GWP (ดัชนีผลกระทบโลกร้อน) = 1810 ค่า Cooling Capacity (ประสิทธิภาพการทำความเย็น) = 100 

ข้อดี – ไร้กลิ่น ไร้สี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสัตว์เลี้ยง และยังอยู่ในกลุ่มสารไม่ติดไฟ ปลอดภัยไร้กังวล

ข้อเสีย – ค่า ODP สูง จึงทำลายชั้นโอโซนและยังมีส่วนต่อการเกิดภาวะโลกร้อน อีกทั้งหากรั่วไหลออกมาจำนวนมากจะอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

2. น้ำยาแอร์ R410A

สารชนิดนี้มีส่วนผสมของ Fluorocarbon พัฒนาขึ้นมาแทนที่สารทำความเย็น R22 แม้ราคาแพงกว่าแต่ค่าต่าง ๆ เทียบแล้วดีกว่าบางตัวทั้ง ODP (ดัชนีทำลายโอโซน) = 0 ค่า GWP (ดัชนีผลกระทบโลกร้อน) = 2090 ค่า Cooling Capacity (ประสิทธิภาพการทำความเย็น) = 141 

ข้อดี – เป็นสารชนิดไม่ติดไฟ ไร้ค่า ODP ไม่ทำลายชั้นโอโซนของโลก

ข้อเสีย – แต่ค่า GWP ยังสูงมากจึงยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และถ้าน้ำยารั่วไหลต้องถ่ายน้ำยาทิ้งออกทั้งหมดแล้วค่อยเติมเข้าไปใหม่เท่านั้น

3. น้ำยาแอร์ R32

นี่คือน้ำยาแอร์รุ่นใหม่ล่าสุดที่แอร์บ้านจำนวนมากไม่ว่าแอร์ราคาถูกหรือแพงก็ตอบโจทย์ ลดการปล่อยสาร CFC จึงไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ และยังช่วยให้การทำงานของแอร์ประหยัดไฟมากขึ้น ระดับแรงดันเท่ากับน้ำยา R410A คือ สูงกว่า R22 ประมาณ 1.6 เท่า ค่า ODP (ดัชนีทำลายโอโซน) = 0 ค่า GWP (ดัชนีผลกระทบโลกร้อน) = 675 ค่า Cooling Capacity (ประสิทธิภาพการทำความเย็น) = 160

ข้อดี – ปริมาณสารทำความเย็นน้อยสุด จุดเดือดต่ำคอมเพรสเซอร์จึงไม่ทำงานหนัก ช่วยประหยัดค่าไฟ แต่ความเย็นยังคงที่ ไม่ทำลายชั้นโอโซนและค่า GWP ต่ำมากสุด

ข้อเสีย – สารติดไฟเล็กน้อยแต่ต้องมีความเข้มข้นสูงพอสมควรจึงนิยมใช้กับแอร์บ้านขนาดไม่เกิน 24,000 BTU 

สำหรับใครอยากเช็คราคาแอร์ ต้องการรู้ราคาแอร์รุ่นที่หาข้อมูลเอาไว้ DAS Inter Group พร้อมเป็นผู้ช่วยให้ทุกการซื้อแอร์ราคาถูกง่ายขึ้นกว่าเดิม สามารถติดต่อเข้ามาได้ทันทีครับ 02-050-8899 หรือ Line@: @dasintergroup เรื่องแอร์บ้านเราเชี่ยวชาญ

More Articles

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save